เมนู

กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีใน
สมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรม
เหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติ
ใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคล
รู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้
ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา 3 ด้วยกามาวจรวิบากจิต 8


ปฏิสัมภิทา 3

คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?
มโนวิญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วย
ญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ
เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชัก
จูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ